สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล มทส.

  • เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหลักสูตรวิทยาการด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม นโยบาย Thailand 4.0 และแนวโน้มสำคัญของโลก
  • จัดการศึกษาแบบมอดูล (Modular Program) คือ การเรียนเป็นชุดวิชา ที่ทำให้ผู้เรียนได้รับทักษะและความรู้แบบเบ็ดเสร็จภายในชุดวิชา
  • ผู้เรียนสามารถออกแบบโปรแกรมการเรียนตามวิชาชีพที่สนใจได้ด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ผู้สอนคอยให้คำแนะนำ (CREPES Model)
  • เมื่อผู้เรียนผ่านการเรียนในแต่ละมอดูลจะได้รับสัมฤทธิบัตร (Certificate) เพื่อแสดงสมรรถนะดิจิทัลในด้านนั้นๆ เพื่อเป็นใบเบิกทางในการประกอบอาชีพ
  • เรียนจบ 1 มอดูล รับ 1 สัมฤทธิบัตร สะสมสัมฤทธิบัตรครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รับปริญญาตรี
  • ภาพรวมของกลุ่มหลักสูตรศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล

    เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหลักสูตรวิทยาการด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม นโยบาย Thailand 4.0 และแนวโน้มสําคัญของโลก จัดการศึกษาแบบมอดูล (Modular Program) คือ การเรียนเป็นชุดวิชาที่ทําให้ผู้เรียนได้รับทักษะและความรู้แบบเบ็ดเสร็จภายในชุดวิชา ซึ่งเป็นการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามกลุ่มวิชาชีพที่สนใจ พัฒนา ทักษะที่จําเป็นให้ผู้เรียนสามารถทํางานได้จริงและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อผู้เรียนผ่าน การเรียนในแต่ละมอดูลจะได้รับสัมฤทธิบัตรเพื่อแสดงสมรรถนะดิจิทัลในด้านนั้น ๆ

    ปรัชญาหลักสูตร

    ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล หรือ DIGITECH เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแขนงต่าง ๆ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ดังปรัชญาหลักสูตรศาสตร์และศิลป์ดิจิทัลที่ว่า “พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานสื่อทุกประเภท โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อการพัฒนาประเทศ”

    ปรัชญาการศึกษา

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีปรัชญาการจัดการศึกษา คือ เน้นการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิชาชีพและวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเป็นบัณฑิต ทางด้านวิชาชีพจะต้องเน้น ปัจจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technoware) คือ ความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ส่วนทางด้านวิชาพื้นฐานจะต้องเน้นปัจจัยมนุษย์ (Humanware) คือ ความรู้ความสามารถโดยทั่วไปฐานะมนุษย์ผู้ใช้เทคโนโลยี ปัจจัยข่าวสาร (Infoware) ความสามารถในการรับ-ส่งข่าวสารข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และปัจจัยองค์กร (Orgaware) ความสามารถทางการจัดการองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยี

    วิดีโอแนะนำกลุ่มหลักสูตรศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล

    a new model for education

    crepes model

    CERTIFICATION + RE & UP-SKILL + EXPERIENCE BASE + PERSONALIZATION + EMERGING EDUTECH + STANDARDIZATION

    เครปส์โมเดล คือ รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมอดูลที่ ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เทียบได้กับเครปสูตรวานิลลา และ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล (Digital Communication) เทียบได้กับเครปสูตรชาร์โคล โดยมีมอดูล ต่าง ๆ ซึ่งเทียบได้กับไส้เครป ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามกลุ่มวิชาชีพที่สนใจ แต่ละรายวิชาย่อยในมอดูลต่าง ๆ สามารถหมุนเวียนใช้ร่วมกันได้ในทั้ง 2 สาขาวิชา ทําให้ ผู้เรียนเป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะด้านดิจิทัลที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญาทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ โดยมีระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกสูตรเครปที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
    crepes model

    c

    CERTIFICATION

    จัดการเรียนการสอนแบบมอดูล (ชุดวิชา) เมื่อเรียนจบหนึ่งมอดูล หากสอบวัดสมรรถนะผ่าน จะได้รับสัมฤทธิบัตรเพื่อแสดงความสามารถของนักศึกษา และเก็บสะสมได้เพื่อขอรับปริญญา

    r

    RE & UP-SKILL

    ศิษย์เก่า คนทำงาน หรือนักศึกษาสาขาวิชาอื่นที่สนใจ สามารถมาเรียนเพิ่มพูนหรือปรับเปลี่ยนทักษะ โดยสามารถเลือกเรียนมอดูลที่สนใจ เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    e

    EXPERIENCE BASE

    เน้นทักษะที่ผู้เรียนจะได้รับ จากการพัฒนาโครงงานและนวัตกรรม รวมทั้งเน้นประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ จากผู้ประกอบการจริง

    p

    PERSONALIZATION

    ผู้เรียนสามารถออกแบบหลักสูตรได้ตามความเหมาะสมของตนเอง โดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำในการเลือกมอดูล ให้ตรงกับอาชีพที่อยากจะเป็น

    e

    EMERGING EDUTECH

    การนำเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบในห้องเรียน ผสมผสานกับ Online Learning ในทุกมอดูล รวมถึงการใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะของนักศึกษาในยุคดิจิทัล

    s

    STANDARDIZATION

    ออกแบบหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และตามมาตรฐานสากล IEEE และ ACM นอกจากนี้มอดูลต่าง ๆ ในหลักสูตร ยังออกแบบโดยอิงตามมาตรฐานของบริษัทที่ถูกยอมรับในด้านนั้น ๆ